จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ มีความหมายอย่างไร

จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต

จรรยาบรรณ ประกันชีวิต หมายถึง ความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอาชีพ หรืออาชีพโดยเฉพาะ ซึ่งต้องประพฤติเพื่อรักษา และ ส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงของผู้ประกอบอาชีพนั้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกลุ่มงานอาชีพใดต้องการให้มาตรฐานของวิชาชีพนั้น มีความน่าเชื่อถือ ได้รับความศรัทธาจากประชาชน จรรยาบรรณ ประกันชีวิต ก็จะมีบัญญัติประมวลจรรยาบรรณไว้ มีการอบรมถ่ายทอดต่อกันมา หลักจรรยาบรรณนั้นจึงมีความจำเป็น และ เหมาะสมต่ออาชีพนายหน้าประกันชีวิต เพราะอาชีพดังกล่าว ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความไว้วางใจว่า จรรยาบรรณ ประกันชีวิต จะสามารถสร้างความเชื่อถือ ความศรัทธาต่อผู้เอาประกันภัย และ ต่อธุรกิจ ประกันชีวิต ได้เป็นอย่างดี

จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ มีความสำคัญอย่างไร

จรรยาบรรณ ประกันชีวิต มีความจำเป็น และ เหมาะสมต่ออาชีพนายหน้าประกันชีวิต เพราะอาชีพดังกล่าวตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความไว้วางใจว่าสามารถจะสร้างความเชื่อถือศรัทธาต่อผู้เอาประกันภัย และ ต่อธุรกิจประกันชีวิตได้เป็นอย่างดี ความสำคัญของ จรรยาบรรณนายหน้าประกันชีวิต มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศชาติ ทั้งในด้านการระดมเงินออมเพื่อพัฒนาประเทศ เกิดการลงทุน การจ้างแรงงาน และ การสร้างหลักประกันความมั่นคงแก่ครอบครัวของผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจประกันชีวิตจึงเป็นธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และ สังคมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อมองสัดส่วนการทำประกันชีวิตในประเทศแล้ว หรือเรื่อง จรรยาบรรณ ประกันชีวิต คนส่วนใหญ่ จึงไม่ได้ตัดสินใจทำประกันชีวิต เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันชีวิต เพื่อเป็นการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้เจริญเติบโต นายหน้าประกันชีวิตซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายกรมธรรม์ประกันชีวิต จึงที่มีความสำคัญอีกช่องทางหนึ่ง ที่จะต้องช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ และ ทัศนคติที่ดี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปยอมรับ และ เชื่อมั่นในธุรกิจประกันชีวิตมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จรรยาบรรณ ประกันชีวิต ก็มีความสำคัญ และ มีประโยชน์กับนายหน้าประกันชีวิตโดยตรง ดังต่อไปนี้

  • ช่วยส่งเสริมมาตรฐาน คุณภาพ และ การบริการของนายหน้าประกันชีวิต
  • ช่วยส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าประกันชีวิต ให้มีความซื่อสัตย์ 
  • ช่วยลดปัญหาการทุจริต การฉ้อโกง การเอารัดเอาเปรียบ และ เห็นแก่ตัว
  • ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของนายหน้าประกันชีวิตและธุรกิจประกันชีวิตดียิ่งขึ้น
  • เป็นกลไกในการปกป้องนายหน้าประกันชีวิตที่ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม

ดังนั้น จรรยาบรรณมีความสำคัญ และ จำเป็นต่อนายหน้าประกันชีวิต โดยเป็นที่ยึดเหนี่ยว และ ควบคุมความประพฤติปฏิบัติด้วยความดีงาม เพราะจรรยาบรรณของนายหน้าประกันชีวิตได้กำหนดขึ้นจากสมาชิกขององค์กร หรือของสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพนายหน้าประกันชีวิต และ ในทางกลับกัน ถ้านายหน้าประกันชีวิต ละทิ้งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของตนเอง มีการประพฤติปฏิบัติตามอำเภอใจ และ ไร้มาตรฐาน อาจจะทำให้ผู้คนหมดความไว้ใจ หรือลดความศรัทธาได้ในที่สุด

จรรยาบรรณ ประกันชีวิต จรรยาบรรณนายหน้าประกันชีวิต มีอะไรบ้าง

จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ จรรยาบรรณนายหน้าประกันชีวิต ของนายหน้าประกันชีวิต ที่ควรยึดเป็นแนวทาง​ในการประพฤติปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม​ โดยได้มีการกำหนด​ จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ 10 ข้อดังนี้

  1. มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และ​ เพื่อนร่วมอาชีพ
  2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ​ ชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิ และ​ หน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
  3. รักษาความลับ​ ที่ไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัย​ และ​ ของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
  4. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัย​ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์
  5. ไม่เสนอแนะให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถ​ ในการชำระเบี้ยประกันภัย​หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์
  6. ไม่ลด​ หรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จเพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันภัย
  7. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิม​ เพื่อทำสัญญาใหม่หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์
  8. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมนายหน้าประกันชีวิต​ หรือบริษัทอื่น
  9. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
  10. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี​ และ​ คุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ

จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ ที่ดีของนายหน้าประกันต้องมีลักษณะอย่างไร

จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ ที่นายหน้าขายประกันควรปฏิบัติ​ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ​ และ​ ได้รับความเชื่อถือจากผู้ซื้อประกันในระยะยาว​ ควรมีลักษณะดังนี้

  1. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ​ มองเห็นคุณประโยชน์ของการทำประกันชีวิตว่ามีประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิต​ เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันความเสี่ยง​ และ​ สร้างหลักประกันให้กับตนเอง​ หรือครอบครัว
  2. มีความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตอย่างดี​ สามารถให้คำชี้แจงสาระสำคัญของเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยได้อย่างถูกต้อง​ ครบถ้วน​ ตอบคำถามได้ถูกต้องอย่างชัดเจน​ ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เอาประกันได้อย่างตรงไปตรงมา
  3. มีความกระตือรือร้น ขยัน​ และ​ อดทน​ เป็นคนขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ​ เพราะการพบปะผู้มุ่งหวังอาจจะต้องมีความพยายาม​ ใช้ความอดทนสูง​ นายหน้าที่ดีต้องรู้จักแสวงหาผู้มุ่งหวังอยู่เสมอ​ เพื่อสร้างโอกาสในการขายให้เกิดขึ้นนั่นเอง
  4. มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย​ บริษัท​ และ​ อาชีพประกันภัย​ เพราะความซื่อสัตย์สุจริตเป็นลักษณะที่ดีที่สำคัญ​ใน​ จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ ที่จะให้งานของนายหน้าประกันภัยประสบความสำเร็จ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับเบี้ยประกัน​ เงินสินไหมของผู้เอาประกัน
  5. มีบุคลิกภาพที่ดี​ ทั้งในด้านลักษณะท่าทาง​ น้ำเสียงในการสนทนา​ การแต่งกายที่สุภาพ​ สะอาด​ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อถือที่ตามมา
  6. มีทักษะการขายที่ดี​ ควรมีการพัฒนาเทคนิคการขายของตนเองอยู่เสมอ​ เพราะความสามารถในการขายจะทำให้เกิดการขยายตลาด​ อีกทั้งยังการสามารถวิเคราะห์การขายของตัวเองได้​ ทำให้เกิดประสบการณ์รวมถึงข้อผิดพลาด​ นำมาพัฒนาตนเองให้เกิดความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น
  7. มีความเป็นมิตร​ เป็นผู้รู้ทันต่อเหตุการณ์​ เป็นคนอารมณ์ดี​ ยิ้มแย้ม​ เข้ากับทุกคนได้เป็นอย่างดี​ เป็นนักฟังที่ดี​ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น​ ตลอดจนมีความรู้รอบตัวพอสมควร​ เพื่อเวลาสนทนากับลูกค้าจะสามารถพูดคุย​ในเหตุการณ์สำคัญ​ และ​ เป็นที่สนใจของสังคมได้
  8. มีความสามารถในการวางแผน​ และ​ แบ่งเวลาการทำงานให้เหมาะสม​ มีการวางแผนงานอย่างมีระบบ​ มีระเบียบวินัยในตนเอง​ รวมถึงการติดตามลูกค้ารายเก่า​ และ​ รายใหม่​ มีการเยี่ยมเยียน​ ตลอดจนการหารายชื่อของผู้มุ่งหวังรายใหม่
  9. มีศิลปะในการพูด​ ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง​ แต่ต้องพูดเป็น รู้กาลเทศะ​ เพราะคำพูดเป็นส่วนสำคัญต่อความน่าเชื่อถือให้กับตนเอง
  10. มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ​ ให้คำปรึกษา​ และ​ การบริการที่ดีแก่ผู้เอาประกัน​ โดยปฏิบัติตามหลัก​ จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ อย่างเคร่งครัด​

จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ คือแนวทางที่นายหน้าประกันชีวิตควรมีความตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม​ จารีตประเพณีอันดีงาม​ ไม่ทำผิดศีลธรรม​ สร้างภาพพจน์ที่ดีต่องานประกันชีวิต​ เป็นที่น่าเชื่อถือ​ และ​ ได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไป​ จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้เอาประกันเกิดความคาดหวังที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง​ เหมาะสม​ ไม่โดยเอาเปรียบ​จากนายหน้าประกัน​ เนื่องจากการประกันชีวิตเป็นการ​ขาย​คำมั่นสัญญาในอนาคตให้กับผู้เอาประกัน​ จึงไม่แปลกที่นายหน้าประกันต้องมี​ จรรยาบรรณ​ ประกันชีวิต​ ตามลักษณะที่พึงมีอย่างเคร่งครัด​ อีกทั้งยังคงการให้การบริการที่ดี​เสมอ​มา​ เพื่อให้ประชาชนยอมรับ​ และ​ เกิดการซื้อขายประกันชีวิตเพิ่มมากขึ้นในอนาคต​