เมื่อพูดถึงที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคอนโด หรือคอนโดมิเนียม ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นสิ่งที่ผู้อยู่ในคอนโดไม่ควรมองข้าม เพราะในการ ประกันคอนโด หรือประกันห้องชุด ซึ่งอยู่ในคอนโดมิเนียมนั้น ผู้อยู่อาศัยในคอนโด ก็ต้องการให้คุ้มครองอัคคีภัย และ ภัยอื่น ๆ แต่จะมีใครที่รู้บ้าง ว่า การประกันอัคคีภัยคอนโดนั้น มีรายละเอียดอยู่หลายอย่าง ที่แตกต่างจากการประกันที่อยู่อาศัยทั่วไป เนื่องจากห้องชุดของคอนโดนั่น มีลักษณะเฉพาะคือ การที่เจ้าของห้องชุด หลาย ๆ รายนั้น ต้องมาอยู่อาศัยร่วมในอาคารเดียวกัน ใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของคอนโดร่วมกัน จึงเป็น อาคารที่บุคคล สามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้ เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วน ก็จะประกอบไปด้วย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล และ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ตามความหมายของอาคารชุด ที่ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติของอาคารชุดนั่นเอง
ประกันคอนโด มีเรื่องของกรรมสิทธิ์ ที่ผู้พักคอนโด ต้องเข้าใจคำเหล่านี้
เมื่อเราตัดสินใจเข้ามาอยู่ร่วมในอาคารเดียวกับผู้อื่นอีกหลายชีวิตนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจความหมายของกรรมสิทธิ์ที่สามารถใช้ร่วมกันนั่นเอง เพราะจะเกี่ยวข้องกับ ประกันคอนโด โดยตรงโดยคำศัพท์มีดังนี้
- ทรัพย์สินส่วนบุคคล ก็คือ ห้องชุด ที่หลาย ๆ คนเรียกกัน มีหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดิน ที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละรายด้วย ซึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ภายในห้องชุดของเรานั่นเอง ถ้าเป็นในส่วนของสิ่งปลูกสร้าง ก็จะเป็นส่วนของ กระจก กระเบื้อง ประตู ฝ้าเพดาน ระเบียง ส่วนผนังก็จะเป็นกรรมสิทธิ์ของเราบางส่วน เพราะเราใช้ร่วมกับห้องอื่นนั่นเอง นอกจากนั้นก็คือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ภายในห้อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว ของเจ้าของห้อง คือถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมา ก็จะมีผลต่อเจ้าของห้องโดยตรงนั่นเอง
- ทรัพย์สินส่วนกลาง ก็คือ ส่วนของอาคารชุด ที่ไม่ใช่ห้องชุด ที่ดิน ที่ตั้งอาคารชุด หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีไว้เพื่อใช้ หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็คือ ตัวโครงสร้างอาคารทั้งหมด สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์ ห้อออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ สวนหย่อม รวมถึงทรัพย์สินอื่น ๆ ที่นิติบุคคลอาคารชุด มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตามกฎหมายนั่นเอง
ประกันคอนโด มีเรื่องใดบ้างที่ต้องระมัดระวังในการทำประกัน
ก็จริงอยู่ที่ว่า การทำ ประกันคอนโด นั้นช่วยให้เราอุ่นใจเพิ่มมากขึ้น แต่การทำประกันก็ยังมีเรื่องที่ผู้ทำ หรือเจ้าของห้องควรระมัดระวัง นั่นก็คือ
- ถ้าห้องชุดห้องนั้น ไม่ได้พักอาศัยเอง แต่ปล่อยให้คนอื่นเช่า ผู้ปล่อยเช่าจะต้องแจ้งลักษณะการใช้งานว่าให้เช่า เพราะลักษณะการใช้งาน จะไม่ใช่ที่พักอาศัย เพราะผู้เอาประกันภัยไม่ได้อยู่เอง ในทางประกันภัย ไม่จัดเป็นที่อยู่อาศัย ต้องใช้อัตราที่พักให้เช่า ซึ่งเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับการประกันแบบอัคคีภัย ที่แถมมาก็คือ ภัยจากน้ำ ภัยระเบิด จะไม่มี ต้องซื้อเพิ่มเอง
- ในกรณีที่เป็นห้องของเราเอง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ซึมลงไปที่ห้องชั้นล่าง ก็จะเกิดจากความผิดของคุณ เช่น ลืมเปิดน้ำทิ้งไว้ หรือท่อประปาในน้ำของห้องคุณหลุด และ พ้นจากระยะเวลารับประกันแล้ว ความเสียหายพวกนี้ ที่คุณต้องชดใช้ห้องอื่น ๆ ถ้ากรมธรรม์ มีความคุ้มครองในส่วนของความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทประกันก็จะช่วยได้เช่นเดียวกัน
- กรณีที่ซื้อห้องชุด โดยขอสินเชื่อกับธนาคาร ทางธนาคารจะบังคับให้ทำประกันภัยคอนโด โดยธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ แต่โดยส่วนใหญ่ การทำประกันภัยนี้ จะไม่รวมถึงทรัพย์สินภายในห้องพักคุณ ดูที่กรมธรรม์ที่จะระบุความคุ้มครองเพียงแค่สิ่งปลูกสร้าง แต่เนื่องจากทางธนาคารต้องการ ให้ครอบคลุมวงเงินที่กู้ อีกทั้งเป็นคนจัดการเรื่องประกัน และ เป็นผู้รับผลประโยชน์เอง ทางธนาคารจึงอาจจะมีวิธี เรียกร้องค่าสินไหมในส่วนนี้เอง ในส่วนของคุณ ก็ให้แจ้งธนาคารให้คุ้มครอง ถึงทรัพย์สินส่วนอื่น ๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปเสียค่าเบี้ยประกันทำอีกกรมธรรม์
ประกันคอนโด ประกันภัยเสริมมีอะไรบ้าง ?
เมื่อพูดถึงประกันภัยเสริม ที่ให้ความคุ้มครองเพิ่มเติม จากในส่วนที่ประกันภัยหลักไม่ครอบคลุมโดยจะมีการจ่ายเบี้ยเพิ่มตามความต้องการ เป็นการตอบโจทย์ของเจ้าของห้อง ที่ต้องการความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าความเสียหาย อยู่นอกเหนือจากรายละเอียดที่ระบุไว้ นั่นหมายความว่าเราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเองทั่งหมด การเพิ่มทุนประกัน หรือความคุ้มครองจะมีหลากหลายหัวข้อ โดยแต่ละหัวข้อนั้น ก็จะมีวงเงินประกันภัยที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น
- ขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม ความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้า และการลักทรัพย์ที่มีร่องรอยงัดแงะ
- การประกันภัยเงิน หรือการสูญเสียของเงิน ภายในสถานที่ตั้ง หรือเก็บทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัย ที่เกิดจากการชิงทรัพย์ และ ปล้นทรัพย์
- การประกันภัย ในส่วนของความรับผิดในส่วนบุคคลภายในประเทศไทย ที่มีความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย การบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรืออนามัยบุคคลภายนอก
- การประกันภัย ในส่วนของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ให้คุ้มครองการเสียชีวิต ที่มาจากไฟไหม้ ชิงทรัพย์ หรือการปล้นทรัพย์ ณ สถานที่เอาประกันภัย
- ประกันคอนโด ในส่วนของเงินชดเชยสำหรับลูกจ้างในบ้าน เงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ
- การประกันภัยกระจกที่ติดตั้งถาวร มาจากภัยธรรมชาติ ภัยแผ่นดินไหว ภัยลูกเห็บ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ
- ให้ความคุ้มครอง ค่าใช้จ่าย ในการบาดเจ็บ หรือตายของสัตว์เลี้ยง ที่มีเหตุมาจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า การเฉี่ยวชนของยวดยานพาหนะ หรือแผ่นดินไหว
- ความเสียหาย หรือสูญหายของอุปกรณ์แบบพกพาที่อยู่ในสถานที่เอาประกันภัย ได้แก่ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องถ่ายภาพ
- คุ้มครองทรัพย์สิน ที่ได้เอาประกันภัยไว้ ที่เกิดจากภัยน้ำท่วม
ถือได้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโด หรือห้องชุดต่าง ๆ นั้น ไม่ควรมองข้ามการทำ ประกันคอนโด เด็ดขาด เพราะเรื่องไม่คาดฝัน หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินนั่น เกิดขึ้นได้เสมอ เพียงแค่คุณลืมปิดก๊อกน้ำ อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่คุณต้องไปรับผิดชอบต่อเพื่อนบ้าน ห้องด้านล่างของคุณได้ ฉะนั้นการทำประกันจึงมีข้อควรที่ต้องรู้ อย่างละเอียด รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ที่คุณควรรู้ ในการอยู่คอนโด รวมไปถึงการทำประกันเสริม ที่จะช่วยให้เราอุ่นใจได้มากขึ้น ในทรัพย์สินส่วนตัวของเรา ฉะนั้นแล้วเมื่อตัดสินใจที่จะเข้าไปอยู่อาศัยในคอนโด ต้องทำความเข้าใจ และ รายละเอียดให้ดี ศึกษาให้ดี ก่อนการทำประกัน เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครอง ที่ครอบคลุมได้ทั้งหมดนั่นเอง