ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ประกันรถยนต์ประเภท 1 , 2 , 2+ , 3 , 3+

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หมายถึง ประกันภัยที่ทำโดยความสมัครใจของเจ้าของรถ ซึ่งมีความคุ้มครอง ที่ครอบคลุมมากกว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ( พ.ร.บ. ) เช่น คุ้มครองความเสียหายของรถคันเอาประกัน คุ้มครองผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสารภายในรถ คุ้มครองร่างกาย และ ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเป็นต้น ซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนั้นมีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ ประกันชั้น 1 , 2 , 2 +, 3 + และ ประกันชั้น 3 มุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจทำประกันภัยรถยนต์ ได้เข้าใจในประกันภัยรถยนต์ ในประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการเลือกทำประกัน ให้สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของรถ เพื่อที่จะบริหารจัดการความเสี่ยงที่มากับการใช้รถได้อย่างเหมาะสม มาดูกันว่า ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง คุ้มครองอะไรบ้าง จากบทความข้างล่างนี้ค่

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ประกันภัยชั้นหนึ่งเป็นประกันภัย ที่มีการคุ้มครองครอบคลุมแทบทุกกรณีที่กฎหมายกำหนดเลยทีเดียว โดยจะมีการคุ้มครองดังนี้ 

  1. คุ้มครองรถยนต์ที่เอาประกัน ตั้งแต่การถูกชน สูญหาย ไฟไหม้ หรือ แม้กระทั่งน้ำท่วม ประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็คุ้มครองในส่วนนี้ 
  2. คุ้มครองบุคคลภายนอก หรือ คุ้มครองคู่กรณีนั่นเอง หากเกิดอุบัติเหตุ ประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ให้ 
  3. คุ้มครองตัวบุคคลในรถที่เอาประกัน ทั้งจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันผู้ขับขี่ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการคุ้มครอง จะเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งอาจแตกต่างกัน 

ดังนั้นผู้จะซื้อประกันรถยนต์ควรศึกษา และ เปรียบเทียบเงื่อนไขให้ละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ  

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นประกันที่ผู้ขับขี่นิยมเลือกทำมากที่สุด เพราะให้ความคุ้มครองรถยนต์ทั้งที่มีคู่กรณี และ ไม่มีคู่กรณี อย่างไรก็ตาม ประกันรถยนต์ ประเภทนี้ก็มีค่าเบี้ยประกันที่สูงมากกว่าประเภทอื่น ดังนั้นแล้วบริษัทประกันจึงมีการออกแบบประกันแบบใหม่ มาคือประกันรถยนต์ชั้น 2 + เพื่อแก้ไขปัญหาตรงนี้ แต่ก็จะลดความคุ้มครองบางส่วนลงมา

ประกันรถ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 และ 2 +

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ประเภท 2 และ 2 + ต่างกันอย่างไร ? 

ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2 รับผิดชอบเกือบทุกอย่างเหมือนประเภทที่ 1 รวมกรณีรถยนต์ของเราสูญหาย หรือ ไฟไหม้ เพียงแต่ไม่รวมความเสียหายกับรถยนต์ของเรา คือรถเราต้องจ่ายเอง สำหรับคนขับรถช่ำชองแล้ว มั่นใจการขับรถตัวเองว่ารอบคอบ ปลอดภัยพอสมควร หรือ ใช้รถไม่บ่อย การเลือกประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด 

ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2+ รับผิดชอบทุกอย่างเหมือนประเภทที่ 2 บวกรับผิดชอบกับรถยนต์ของเรากรณีชนกับยานพาหนะทางบก ( ชนกับอย่างอื่นไม่ได้ ) 

ประกันรถ แน่นอนว่าอุบัติเหตุย่อมขึ้นอยู่กับระดับการใช้งานรถ ใช้งานบ่อยโอกาสเกิดเหตุก็สูงกว่าคนที่ไม่ค่อยได้ใช้รถ และ ประกันรถยนต์ 2 + นี้ก็อาจเป็นคำตอบให้สำหรับบางคนที่ใช้รถไม่บ่อย รถคันนั้น ๆ นาน ๆ นำออกมาขับที ใช้รถน้อย และ ไม่อยากจ่ายค่าเบี้ยประกันแพง ๆ แบบประกันชั้น 1 ประกันรถยนต์ 2+ นี่แหละคืออีกทางเลือก ที่จะช่วยลดค่าเบี้ยให้กับคุณ

ประกันรถ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 และ 3 +

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ประกันชั้น 3 ให้ความคุ้มครองดังต่อไปนี้ 

  1. ค่าซ่อมแก่คู่กรณี 
  2. คุ้มครองต่อชีวิต และ ร่างกายบุคคลภายนอก หรือ ของคู่กรณี หากเสียชีวิตบริษัทประกันจะชดใช้ให้ตามวงเงินที่กรมธรรม์ระบุไว้ หรือ ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาทต่อคน 
  3. คุ้มครองต่อทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับความเสียหาย เช่น รถยนต์ของคู่กรณี 

4.ไม่ครอบคลุมกรณีรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ หรือ อุบัติภัยทางธรรมชาติอื่น ๆ 

ประกันรถ ประกันชั้น 3 พลัส ให้ความคุ้มครองดังต่อไปนี้ 

  1. ความคุ้มครองของประกันภัยชั้น 3 พลัสนั้น รู้หรือไม่ว่า คล้ายคลึงกับประกันชั้น 1 แต่จะให้ความคุ้มครองทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกาย ของบุคคลภายนอก จากกรณีอุบัติเหตุเฉี่ยวชน โดยไม่คาดคิด 
  2. คุ้มครองรถที่เอาประกันตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ต้องเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากกรณีรถชนรถเท่านั้น 
  3. หากรถที่เอาประกันเป็นฝ่ายผิด ผู้เอาประกันต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก ( Excess ) จำนวน 2,000 บาทต่อครั้ง ( แต่บริษัทประกันบางแห่งจะไม่เรียกเก็บค่าส่วนแรก โดยจะไปเพิ่มราคาเบี้ยประกันรถแทน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท )

ประกันรถ แต่ละประเภท ต่างกันยังไง น่าจะได้คำตอบแล้ว เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับข้อมูลของประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แต่ไม่ว่าเราจะเลือกทำประกันภัยรถยนต์แบบใดก็ตาม การมีประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ( พ.ร.บ. ) และ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ติดรถไว้นั่นเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน ทั้งนี้การเลือกทำประกันรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น อายุรถ การใช้งานของรถ ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดคือความต้องการของผู้เอาประกันเป็นหลัก ดังนั้นท่านอย่าได้ทำการมองข้าม ประกันรถ ตราบใดที่ยังใช้รถใช้ถนนอยู่ เพราะอุบัติเหตุนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน และ เมื่อเกิดขึ้นทุกครั้ง มักจะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาล ดังนั้นท่านต้องหารถยนต์ภาคสมัครใจมาช่วยประกันความเสี่ยงให้แก่ท่าน ในการใช้รถใช้ถนนนอกเหนือจากประกันพื้นฐาน พ.ร.บ.