ประกันสังคมว่างงาน ผู้ประกันตนรับสิทธิประโยชน์ ขั้นตอนลงทะเบียน อะไรบ้าง ?

ประกันสังคมว่างงาน

ประกันสังคมว่างงาน สิทธิประโยชน์จาก ประกันสังคม กรณีว่างงาน โดยผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน คือ บุคคลที่เป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน มีรายละเอียดดังนี้ 

  1. กรณี ว่างงาน จากการลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญา ได้รับเงินทดแทน 45% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน / ปีปฏิทิน 
  2. กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทน 70% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน / ปีปฏิทิน 3. คำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเงื่อนไข และ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะได้รับ ประกันสังคมว่างงาน มาดูกันว่า ขั้นตอนกรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญา และ ถูกเลิกจ้าง มีรายละเอียดอย่างไรบ้างจากบทความข้างล่าง

ประกันสังคมว่างงาน ขั้นตอนกรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญา และ ถูกเลิกจ้าง

ประกันสังคมว่างงาน ในกรณีสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นายจ้างต้องเป็นผู้ยื่นแบบต่อประกันสังคม เมื่อลูกจ้างสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หลังจากนายจ้างยื่นสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว วันนี้เราจะมาบอกวิธียื่นแบบประกันสังคม กรณีว่างงาน สำหรับผู้ประกันตนเพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน ผ่านช่องทางออนไลน์ดังนี้ 

  1. ลงทะเบียนขอใช้ Digital ID ผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล 
  2. เข้าระบบ ( Log – in ) โดยใช้ User / Password ที่ลงทะเบียน Digital ID และ กรอกข้อมูลตามระบบให้ครบถ้วน พร้อมแนบไฟล์ภาพหน้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ( Book Bank ) ( ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564 ผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นเอกสารใด ๆ กับสำนักงานประกันสังคม ) 
  3. รายงานตัวตามกำหนด โดยคลิกที่ปุ่ม บันทึก เพื่อเป็นการยืนยันการรายงานตัว 

      3.1. ลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญา ได้รับ 30% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน / ปีปฏิทิน

      3.2. เลิกจ้างได้รับ 50% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน / ปีปฏิทิน 

ประกันสังคมว่างงาน บทความที่กล่าวมาข้างต้นผู้ประกันตนควรทราบ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากประกันสังคมนะคะ

ประกันสังคมว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัยจากการระบาดโรคติดต่อ

ประกันสังคมว่างงาน กรณีว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย จากการระบาดของโรคติดต่อ ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน เนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการ เนื่องจากรัฐสั่งปิด และ ไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ( มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 ) มีขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนขั้นตอนดังนี้ 

  1. ผู้ประกันตน กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน ( สปส. 2-01 / 7 ) พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร 
  2. นายจ้างบันทึกข้อมูลผู้ประกันตน หยุดงานชั่วคราว ในระบบ e-Service ทาง www.sso.go.th ( หากนายจ้างที่ใช้ระบบครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อน ) กรอกข้อมูลรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ตามข้อเท็จจริง
  3. นายจ้างนำส่งแบบ สปส. 2 – 01 / 7 ของลูกจ้าง ไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่รับผิดชอบที่สถานประกอบการตั้งอยู่ 

ประกันสังคมว่างงาน ทั้งนี้ กรณีลูกจ้างกระทำความผิด ถูกไล่ออก หรือ ปลดออก จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสายด่วน 24 ชั่วโมง โทร : 1506

ประกันสังคมว่างงาน ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงได้รับค่าชดเชย

ประกันสังคมว่างงาน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือ ให้ออกจากงาน โดยไม่ได้มาจากความผิดของตน ผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในระหว่างที่ว่างงาน หรือ เป็นเงินทุนในการหางานใหม่ แต่หากลูกจ้างที่ออกจากงานด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 

  1. ลาออกเองโดยสมัครใจ 
  2. ทุจริตต่อนายจ้าง หรือ ทำความผิดอาญา 
  3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
  4. ประมาทเลินเล่อ จนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง 
  5. ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว 
  6. ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร 
  7. ได้รับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 
  8. สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน 

ประกันสังคมว่างงาน ทั้ง 8 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นกรณีที่ไม่ได้รับชดเชยการว่างงาน ที่ผู้ประกันตนควรทราบค่ะ

ประกันสังคมว่างงาน เมื่อต้องว่างงาน แบบไม่ทันตั้งตัวแบบนี้ ขอให้ตั้งสติให้ดี และ พยายามคิดทบทวนว่า ตนสามารถยื่นขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน หรือ ถูกเลิกจ้างจากประกันสังคม ก่อนเตรียมเอกสาร ไปยื่นเรื่องขอรับการเยียวยา เพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ในชีวิตประจำวัน แต่ใครที่ยังไม่ต้องเผชิญสถานการณ์ดังกล่าว ก็ไม่ควรประมาท เพราะหากถูกบอกเลิกจ้างกะทันหัน จะได้ทราบสิทธิประโยชน์ ที่ท่านจะต้องได้รับจาก ประกันสังคมกรณีว่างงาน หวังว่าบทความข้างต้นนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตน เพื่อที่จะได้ทราบขั้นตอน และ สิทธิประโยชน์ รวมไป