ประกันสังคมมาตรา 33 ผู้ประกันตน มาตรา 33 เป็นผู้ประกันตนภาคบังคับของ สำนักงานประกันสังคม คือ ผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างตามบริษัทต่าง ๆ ที่ทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งต้องเป็นสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คุณสมบัติของการขึ้นทะเบียน ประกันสังคมมาตรา 33 มีอะไรบ้าง
- ต้องเป็นสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
- ต้องเป็นลูกจ้างที่ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา
- ลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และ ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
ที่กล่าวมาข้างต้นคือ กฎระเบียบ และ คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัคร เป็นผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 มาดูกันว่าสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ขั้นตอนการสมัครผ่านออนไลน์ และ การคิดเบี้ยประกันสังคม ที่ผู้ประกันตน และ นายจ้างควรทราบจากบทความข้างล่างนี้ค่ะ
ประกันสังคมมาตรา 33 สิทธิประโยชน์มีอะไรบ้าง ?
ประกันสังคมมาตรา 33 สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน คุ้มครอง 7 กรณี
- กรณีประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย ( กรณีเจ็บป่วยปรกติ , ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วยฉุกเฉิน , ทันตกรรม )
- กรณีคลอดบุตร ได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ไม่จำกัดสถานพยาบาล และ จำนวนครั้ง พร้อมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ และ ค่าบริการทางการแพทย์
- กรณีเสียชีวิต รับเงินกรณีสงเคราะห์ผู้เสียชีวิต และ ค่าช่วยทำศพ
- กรณีสงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อเดือน จนบุตรอายุครบ 6 ปี
- กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถรับเงินบำเหน็จ บำนาญชราภาพ
- กรณีว่างงาน ถูกเลิกจ้างจะได้เงินทดแทนช่วงว่างงาน
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือสิทธิประโยชน์ ประกันสังคมมาตรา 33 ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ ส่วนรายละเอียดเงินทดแทนสามารถสอบถามได้จากสำนักประกันสังคม หรือ เข้าไปดูได้ที่หน้าเว็บไซต์ประกันสังคม หรือ โหลดแอปพลิเคชั่น SSO Connect Mobile เพื่อเข้าไปดูรายละเอียด และ เช็คสิทธิ์ของท่านค่ะ
ประกันสังคมมาตรา 33 มีขั้นตอนการสมัครผ่านช่องทางออนไลน์อย่างไร ?
ประกันสังคมมาตรา 33 ในเดือนถัด ๆ ไป เจ้าของธุรกิจก็สามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคมในหัวข้อ บริการอิเล็กทรอนิกส์ ลดเวลาการเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ และ จัดเตรียมเอกสารหลายขั้นตอน เพื่อยื่นข้อมูล ดังนี้
- ข้อมูลเงินสมทบ
- แจ้งพนักงานเข้าใหม่ ( ส.ป.ส. 1 – 03 ) 3. แจ้งพนักงานลาออก ( ส.ป.ส. 6 – 09 )
ขั้นตอนยื่นข้อมูลเงินสมทบ
- เข้าสู่ระบบ และ เลือกเมนู “ ส่งข้อมูลเงินสมทบ ”
- เลือก วิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ
- เลือกสถานประกอบการ
- เลือกวิธีการนำส่ง กรอกเดือน , ปี , อัตราเงินสมทบ
- เลือกอัปโหลดไฟล์ ข้อมูลเงินสมทบ
- สรุปข้อมูลเงินสมทบ
- ส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ
- จากนั้นประกันสังคม จะส่งข้อมูลยืนยันตามแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ ( สปส.1 – 10 ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 ) ผ่านทางอีเมลเพื่อดำเนินการชำระเงินต่อไป
ขั้นตอนยื่นเอกสารพนักงานเข้าใหม่
- เข้าสู่ระบบและเลือกเมนู ทะเบียนผู้ประกันตน
- คลิกเลือกข้อ 1 กรณีที่พนักงานเข้าใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียน ผู้ประกันตนกับทางประกันสังคม คลิกเลือกข้อ 2 กรณีที่ พนักงานเคยขึ้นทะเบียนแล้ว และ เลือกสถานพยาบาลเดิม
- เพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ทั้งหมด กรณีพนักงานใหม่ ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนใส่เลขที่บัตรประชาชน กรณีพนักงานใหม่เลือกสถานพยาบาลเดิม
- ตรวจสอบข้อมูล
- ยืนยันบันทึกข้อมูล
ทั้งหมดนี้การเป็นการยื่น ประกันสังคมมาตรา 33 ที่สถานประกอบการควรทราบค่ะ
ประกันสังคมมาตรา 33 เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าประกันสังคมเท่าไหร่ และ เมื่อไหร่ ?
ประกันสังคมมาตรา 33 เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่าย สมทบประกันสังคม ในส่วนที่หักจากพนักงาน และ ส่วนที่สมทบให้กับพนักงาน ตามแบบ สปส. 1 – 10 ( ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 ) จะต้องส่งในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หลังจากที่ยื่นเอกสาร เพื่อนำส่งประกันสังคมในครั้งแรก
วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ฐานของเงินค่าจ้างพนักงานขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท พนักงานจะถูกหักจากเงินเดือน 5% + เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบ 5% + รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบ 2.75% ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงออกเงินสมทบประกันสังคมให้ 1 เท่า ของเงินที่พนักงานถูกหัก ออกจากเงินเดือนในแต่ละเดือน
ประกันสังคมมาตรา 33 ( แต่ในกรณีที่ต้องนำส่งด้วยตัวเอง ในสถานะฟรีแลนซ์ก็จะยื่นนำส่งในมาตรา 39 โดยมีเงื่อนไขว่า เคยยื่นมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และ ว่างงานมาไม่เกิน 6 เดือน )
ประกันสังคมมาตรา 33 จากบทความข้างต้นที่กล่าวมานี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ นายจ้างนะคะ มาตรา 33 เป็นประกันสังคมที่มีไว้สำหรับลูกจ้าง ที่มีนายจ้างเป็นสถานประกอบการ นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ยื่นประกันสังคมให้กับลูกจ้าง รวมไปถึงมีหน้าที่ ยื่นหักเงินค่าประกันสังคมลูกจ้าง 5% และ นายจ้าง 5% เพื่อยื่นส่งประกันสังคม พร้อมกับยื่นแบบส่งเงินสมทบ รวมไปถึงการแจ้งเข้า แจ้งออก กรณีมีลูกจ้างเข้างานใหม่ และ สิ้นสุดสถานะการทำงาน ปัจจุบัน ประกันสังคมมาตรา 33 นายจ้างสามารถยื่นแบบ ข้อมูลเงินสมทบ , แจ้งพนักงานเข้าใหม่ ( ส.ป.ส. 1 – 03 ) , แจ้งพนักงานลาออก ( ส.ป.ส. 6 – 09 ) ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วที่เว็บไซต์ประกันสังคม โดยไม่ต้องไปที่สำนักงานประกันสังคมโดยตรง สะดวก รวดเร็ว กว่าที่เคย