สีขอบฟุตบาท มีข้อบังคับให้จอดอย่างไรบ้าง ?

สีขอบฟุตบาท

สีขอบฟุตบาท มีข้อบังคับให้จอดอย่างไรบ้าง ?

เคยสงสัยกันมั้ยว่า สีขอบฟุตบาท หมายถึงอะไรบ้าง ? เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยเกิดปัญหาในการหาที่จอดรถ ซึ่งปัจจุบันนี้อัตรารถที่เพิ่มมากขึ้น การหาที่จอดรถริมถนนก็หาได้ยากมากอีกด้วย และ เคยสังเกตกันไหมคะ ว่าสีของขอบถนน มีความหมายว่าอย่างไร เราสามารถจอดได้ไหม วันนี้มีคำตอบของแต่ละสีมาฝากกันค่ะ เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีความรู้เบื้องต้น และ มีความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตนเองได้ถูกต้อง เวลาต้องจอดรถตามถนน สีขอบถนน หรือ ที่เรียกว่า สีฟุตบาท มีกันทั้งหมด 3 สี ได้แก่ แดง – ขาว , เหลือง – ขาว และ ขาว – ดำ สีขอบฟุตบาท มีหลากหลายแบบ และ มีข้อควรระวังในการจอดชิดริมฟุตบาท โดยจะแบ่งประเภทตามสีของขอบฟุตบาท ซึ่งเราจะทราบได้อย่างไรว่าควรจอด หรือ ไม่ควร มาดูกันเลย

สีฟุตบาทถนน หมายความว่าอะไรบ้าง

สีฟุตบาท แถบสีแดงสลับขาว

เส้นขาวแดง หมายถึง ห้ามหยุดรถ ห้ามจอดรถทุกชนิด ตลอดทั้งแนวเขตที่กำหนดเป็นอันขาด นั่นรวมไปถึง การห้ามหยุดจอดรถชั่วคราว เพื่อรับ – ส่งผู้โดยสาร หรือ จอดเพื่อซื้อของข้างทางด้วย และ นอกจากนี้ ยังห้ามผู้โดยสารทำการโบกเรียกรถโดยสารทุกชนิด ที่ต้องจอดรับ – ส่ง ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าขอบทางสีแดงขาวนั้น มักจะอยู่ในบริเวณที่มีการจราจรที่คับคั่ง ทางโค้ง หัวมุม หรือ บริเวณที่มีการสัญจรของรถยนต์ค่อนข้างมาก เพื่อเป็นการไม่ให้มีการจอดขวางเส้นทางเดินรถ สถานที่ห้ามจอด หรือ อาจจะทำให้การจราจรติดขัดได้นั้นเอง

โดยอ้างอิงจาก ข้อกำหนดจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจร และ ความหมายของสัญญาณจราจร และ เครื่องหมายจราจร เกี่ยวกับเส้นแดงสลับขาวไว้ดังนี้ : ส่วนที่ ๑ … ข้อ ๑๘ … (๘) “ เครื่องหมายห้ามหยุดรถ ” มีลักษณะเป็นแถบสีแดงสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือ ขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือ ทางจราจรหรือที่อื่น ๆ หมายความว่า ห้ามหยุดรถ หรือ จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวเขตที่กำหนดเป็นอันขาด ( พบ.๑๐ ) เพราะฉะนั้นเราควรเลี่ยงการจอดชิดขอบเส้นสีแดงขาว ไม่ว่ากรณีใด ๆ

สีขอบฟุตบาท ฟุตบาทแถบสีเหลืองสลับขาว

เส้นขาวเหลือง หมายถึง ห้ามจอดรถทุกชนิด ตลอดทั้งแนวเขตที่กำหนด เว้นแต่คือ หยุดเพื่อรับ – ส่งผู้โดยสารชั่วคราว ด้วยระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งโดยส่วนมากเราจะเห็นเส้นขอบสีเหลืองสลับขาวในบริเวณที่จัดไว้ ให้เพื่อรับ – ส่งผู้โดยสาร จุดขึ้น – ลงรถโดยสารต่าง ๆ โดยอ้างอิงจาก ข้อกำหนดจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจร และ ความหมายของสัญญาณจราจร และ เครื่องหมายจราจร เกี่ยวกับเส้นเหลืองสลับขาวไว้ดังนี้ : ส่วนที่ ๑ … ข้อ ๑๘ … (๗) “ เครื่องหมายห้ามจอดรถ ” มีลักษณะเป็นแถบสีเหลืองสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือ ขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือ ทางจราจร หรือ ที่อื่น ๆ หมายความว่า สีเหลืองสลับขาว ห้ามจอดรถทุกชนิดระหว่างแนวเขตที่กำหนด เว้นแต่การหยุดรับส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า ( พบ.๙ ) ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การจอดรถ และ หยุดรถ ไม่เหมือนกันนะคะ หากเราหยุดรถเพื่อรับส่งคน หรือ สิ่งของในระยะเวลาสั้นก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องเร็วหน่อยนะคะ

สีฟุตบาท แถบสีดำสลับขาว

สีดำสลับขาว หมายถึง ต้องการกำกับให้เห็นขอบทางชัดเจน เช่น ถนนเส้นที่ค่อนข้างมีความโค้ง บริเวณขอบ หรือคอสะพาน บางจุดอนุญาตให้สามารถจอดรถได้ แต่ต้องชิดขอบทางด้วยนะคะ ซึ่งในบางกรณีการจอดตามขอบเส้นสีดำขาว ก็อาจผิดข้อกำหนดได้นะคะ ตัวอย่างเช่น จอดห่างขอบทางเกินไป , จอดซ้อนคัน , จอดบริเวณที่เป็นขอบ หรือ คอสะพาน หรือ จอดในบริเวณที่มีการใช้เครื่องกั้นห้ามจอดตั้งไว้ (โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่จราจร ) แล้วเราไม่ทราบ หรือ มองไม่เห็น ก็อาจโดนจับได้เช่นกัน

โดยอ้างอิงจาก ข้อกำหนดจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจร และ ความหมายของสัญญาณจราจร และ เครื่องหมายจราจร เกี่ยวกับเส้นเหลืองสลับขาวไว้ดังนี้ : ส่วนที่ ๑ … ข้อ ๑๙ … ( ๕ ) “ เครื่องหมายขาวดำ ” มีลักษณะเป็นแถบสีขาวสลับสีดำ แสดง หรือ ทำให้ปรากฏที่ขอบคันหิน หรือ สิ่งกีดขวางอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทางเห็นขอบคันหิน หรือ สิ่งกีดขวางนั้น ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ( พต.๘ ) และ ที่สำคัญที่เราอาจเข้าใจผิดกันว่า เส้นขอบสีดำขาวนั้นหมายถึงสามารถจอดได้ทั้งหมด นั้นอาจไม่ใช่นะคะ ซึ่งถ้าเราอ่านคำอธิบายให้ดี ๆ แล้วล่ะก็ จะเข้าใจได้ว่า การทาสีเป็นสีดำขาวสลับกันนั้น ใช้เพื่อเน้นให้เห็นขอบทางได้ชัดเจนมากขึ้นนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น บริเวณขอบทางที่เป็นวงเวียน หรือ บริเวณทางโค้ง เป็นต้น ซึ่งบางจุดบางบริเวณก็จอดไม่ได้นะคะ

สีเส้นขอบฟุตบาท ไม่ใช่ทั้งหมดที่เราควรทราบ เราควรสังเกตป้ายห้ามจอด หรือ สัญลักษณ์อื่น ๆ ร่วมด้วยนอกจากสีเส้นขอบทางเพียงอย่างเดียว เพราะในบางพื้นที่อาจไม่มีขอบถนน หรือ ในกรณีที่มีการใช้เครื่องหมายห้ามจอด ประเภทต่าง ๆ มาตั้งไว้ หากเราไม่มีความเข้าใจในส่วนนี้ก็อาจจะปฏิบัติผิดหลักจราจรได้ ที่สำคัญเมื่อมีรถแล้ว อย่าลืมเพิ่มความใส่ใจในการใช้ถนนร่วมกับผู้อื่นให้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการเป็นผู้ขับขี่ที่ดี เพื่อทำให้การจราจรเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัดจากพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว และ ยังสามารถสร้างความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นการจอดรถควรสังเกตให้ดีว่าที่ ที่เราจอดนั้นกีดขวางการจราจรหรือไม่ เพราะถ้าเราพลาดจอดไปแล้วอาจจะโดนใบสั่ง ล็อกล้อ พร้อมเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท ตามความผิด พ.ร.บ. มาตรา 57 และ 59