ขั้นตอนการ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ ด้วยตัวเอง หลาย ๆ คนคงจะนึกว่าแค่คิดก็ยุ่งยากแล้ว เพราะต้องมีเรื่องการเตรียมเอกสาร อีกทั้งขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ นานา คงใช้เวลาเป็นวัน ๆ อย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ยากอย่างที่คุณคิดเลย แถมขั้นตอน และ การเตรียมเอกสารต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนอีกด้วย แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูกันเลย สำหรับการ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ นั้น ก่อนอื่นที่เราจะทำการแจ้งเปลี่ยน เราต้องไปแจ้งตัดเครื่องยนต์เดิมก่อน โดยในส่วนนี้ต้องนำใบ Invoice ไปยื่นที่ กรมการขนส่งทางบก หลังจากนั้นขนส่งจะออกเอกสารการย้ายเครื่อง ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถไปแจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ขนส่งไหนก็ได้ เราสามารถแจ้งได้ตามความสะดวกของเรา ส่วนเอกสารนั้นต้องเตรียมอะไรบ้าง มีขั้นตอน เงื่อนไขอย่างไรมาดูตามบทความข้างล่างได้เลยค่ะ
แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ จำเป็นต้องตรวจสภาพ และ แจ้งต่อนายทะเบียนก่อนการใช้งาน จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
การ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้เดิม ดังนั้น เจ้าของรถจำเป็นต้องนำไปให้นายทะเบียน ตรวจสภาพ และ บันทึกลงเล่มก่อนการใช้งาน หากฝ่าฝืนจะถือเป็นความผิดตามมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
หลักฐานที่ใช้การ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ ประกอบด้วย
1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2.หลักฐานการได้มาของเครื่องยนต์ เช่น หนังสือรับรองการส่งบัญชีรับ และ จำหน่ายเครื่องยนต์ หนังสือแจ้งจำหน่ายใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องยนต์ ใบกำกับภาษีค่าเครื่องยนต์
3.หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ ได้แก่ ภาพถ่ายบัตรประจำตัว หรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ( แล้วแต่กรณี )
4.หลักฐานการแก้ไขดัดแปลงสภาพรถ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ( ถ้ามี )
แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย
ขั้นตอนการดำเนินการ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ มีดังนี้
1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน เพื่อขอนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ
2. ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อม หลักฐานและผลผ่านการตรวจสภาพรถ
3. ชำระค่าธรรมเนียมและภาษีส่วนที่เพิ่ม ( ถ้ามี )
4. รอรับเอกสารคืน
ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการ แจ้งเปลี่ยนเครื่องรถยนต์ ราคา ประกอบด้วย
1.ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท
2.ค่าขอแก้ไขรายการในทะเบียน และ คู่มือจดทะเบียน ครั้งละ 50 บาท
3.ค่าตรวจสภาพรถ ครั้งละ 50 บาท
แจ้งเปลี่ยนเครื่องรถยนต์ ราคา เท่าไหร่ ? ( เปลี่ยนเครื่องไม่แจ้งลงเล่ม โดนจับปรับไม่เกิน 2,000 บาท )
แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ เมื่อคุณซื้อเครื่องมา หรือ แม้จะให้อู่ ที่วางเป็นผู้จัดเครื่องให้ก็ตาม ( กรณีวางแบบเหมา ) ทางร้านที่ขายเครื่องตัวนั้นให้คุณ จะต้องออก “ ใบซื้อขายเครื่อง ” หรือ “ Invoice ” ( อินวอยซ์ ) มาให้ เพื่อเป็น “ หลักฐานการซื้อขาย ” ในนั้นก็จะมีรายละเอียดหลัก ๆ เช่น ราคาเครื่อง , ชนิดของเครื่อง , เลขเครื่องยนต์ตัวที่จำหน่าย , ชื่อผู้ซื้อ , ชื่อร้านค้า ฯลฯ ตัวนี้จะต้องมีก่อน ถ้าไม่มีไม่ได้นะคะ ถ้างั้นถือว่าเป็น “ เครื่องไม่มีเลข ” ไม่ได้เสียภาษี ไม่สามารถนำมาใช้ได้ แต่ยังไงร้านที่ขาย ( แบบถูกกฎหมาย ) มีเตรียมให้อยู่แล้ว การจะ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ สามารถเลือกได้ ว่าจะเก็บไว้ก่อน ยังไม่แจ้ง รอแจ้งตอนต่อทะเบียนทีเดียวเลย หรือ “ ฟิตจัด ” จะแจ้งเปลี่ยนเลยทันทีก็ดีเหมือนกัน เพราะสมมติเกิดเหตุเฉี่ยวชนปกติ แล้วต้องเรียก “ ประกัน ” ถ้ายังไม่แจ้งเปลี่ยน เลขเครื่อง ณ ตอนเกิดเหตุ ไม่ตรงกันกับตอนที่แจ้งทำกรมธรรม์ประกันภัยครั้งแรก ก็อาจจะมีปัญหายุ่งยากนิดหน่อย ดังนั้น แจ้งเปลี่ยนไปซะเลยสบายใจกว่า เอาล่ะ เมื่อคุณไปแจ้งที่ “กองทะเบียน ” ที่กรมขนส่งแล้ว ทางนั้นเขาก็จะเช็ค “ ต้นขั้ว ” ดูว่า เลขเครื่องตัวนี้ มีหลักฐานการนำเข้า และ เสียภาษีมาตั้งแต่แรกหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วมีข้อมูลตรงกัน เลขเครื่องนี้ถูกบันทึกเข้าไปแล้ว ก็โอเค “ ผ่าน ” แต่ถ้าเกิดไม่ตรงกันก็จะ “ ตีคืน ” ไม่สามารถแจ้งเปลี่ยนเลขเครื่องได้
ข้อควรระวัง:
- การแจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นสิ่งสำคัญ: หากไม่แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ อาจมีผลต่อการต่อทะเบียนรถยนต์ และอาจถูกปรับตามกฎหมาย
- ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน: ก่อนยื่นคำขอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีเอกสารครบถ้วนตามที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าในการดำเนินการ
แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ การแก้ไขดัดแปลงตัวรถที่ส่งผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกทุกครั้ง หากฝ่าฝืนใช้รถโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดตามกฎหมาย ส่วนการติดตั้งอุปกรณ์แต่งรถ ขนาด และ ตำแหน่งในการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องเหมาะสม และ มีความปลอดภัยในการใช้งานบนท้องถนน เนื่องจากเป็นการแก้ไขดัดแปลงรถที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรง และ โครงสร้างหลักของรถ ส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานบนท้องถนน ต้องนำรถเข้าตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ และ ต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ และ เงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานบนท้องถนนด้วย ส่วนกรณีที่มีการเปลี่ยนสีรถไป จากที่จดทะเบียนไว้ ต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถภายใน 7 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงสีรถ โดยสามารถแจ้งเปลี่ยนสีรถได้ทุกสำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ หากตรวจสอบพบการแก้ไขดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก เจ้าของรถจะมีความผิดตามกฎหมาย หากเป็นรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พศ. 2522 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนกรณีเป็นรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พศ. 2522 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
คำแนะนำ: หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คุณสามารถติดต่อสำนักงานขนส่งในพื้นที่ของคุณ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
หมายเหตุ: ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากกรมการขนส่งทางบกก่อนดำเนินการ