จ่ายประกันสังคม ช่องทางการชำระเงินสมทบผู้ประกันตน

จ่ายประกันสังคม

การชำระเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคม ต้องชำระเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 สามารถนำส่งเงินสมทบเข้า กองทุนประกันสังคมทั้งทางสำนักงาน และ ทางออนไลน์ ผู้ประกันตนของ สำนักงานประกันสังคมต้องชำระเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยผู้ประกันตนในมาตรา 33 ประกันสังคมจะทำการหักผ่านเงินเดือนของบริษัท ขณะที่มาตรา 39 และ 40 ผู้ประกันสามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมได้ ทางช่องทางการชำระเงินประกันสังคมหลากหลายช่องทาง ด้วยกันมาดูกันว่า การชำระเงินสมทบประกันสังคม มีทางไหนบ้าง เราได้จัดสรรมาให้ท่านหลากหลายช่องทาง โดยแยกให้ทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 มีดังนี้

จ่ายประกันสังคมช่องทางการชำระเงินผู้ประกันตนมาตรา 33

การชำระเงินสมทบประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 บริษัทจะเป็นผู้หักจากเงินเดือนของลูกจ้าง และ นำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม โดยสามารถชำระเงินสมทบได้ดังนี้

1. ชำระเงินสมทบ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา 

2. ชำระเงินสมทบเป็นธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือ เช็คทางไปรษณีย์ 3. ชำระเงินสมทบผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร 

3. แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) , ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต 

4. ชำระเงินสมทบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ( e-payment ) 11 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น , ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด , ธนาคารซิตี้แบงก์ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ , บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด 

การชำระเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 เราอำนวยความสะดวกให้ท่านเลือกจ่ายได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสาขา หรือ ทางออนไลน์ ตามที่ท่านสะดวกได้เลยค่ะ

จ่ายประกันสังคมช่องทางการชำระเงินผู้ประกันตนมาตรา 39

การชำระเงินสมทบประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 39 ผู้ประกันตนสามารถชำระได้ดังนี้ 

1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน 

2. ชำระเงินโดยหักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร 

3. ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารและเคาน์เตอร์ให้บริการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารออมสิน จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( ธกส. ) , บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด 

การชำระเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39 สะดวกสบายใช่ไหมคะ ท่านสามารถเลือกชำระเงินสมทบได้ตามที่ท่านสะดวกตามช่องทางที่เราได้กล่าวมาได้เลยค่ะ

จ่ายประกันสังคมช่องทางการชำระเงินผู้ประกันตนมาตรา 40

การชำระเงินสมทบประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ผู้ประกันตนสามารถชำระได้ดังนี้

1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน 

2. หักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร

3. ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน )

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารออมสิน จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์ ( ธกส. ) 

4.ชำระผ่านเคาน์เตอร์ให้บริการ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ช้อปปี้ เพย์ , ตู้บุญเติม , ห้างสรรพสินค้าโลตัส , บิ๊กซี ซุปเปอร์เซนเตอร์ 

การชำระเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 ได้เปิดให้ท่านเลือกจ่ายตาม ความสะดวกของทุกท่านแล้ว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน สะดวกเวลาไหน สามารถจ่ายได้ทุกเมื่อ ตามที่ท่านต้องการ

การชำระเงินสมทบประกันสังคม ทั้งหมดนี้ คือ ช่องทางการชำระเงินประกันสังคมทั้งที่สาขา และ แบบออนไลน์ ซึ่งสำนักงานประกันสังคม พร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประตนทุกรายให้มากที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้นายจ้าง และ ผู้ประกันตนทุกท่าน ไม่ว่าจะมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ได้ทราบช่องทางการชำระ เราเปิดให้ท่านได้ชำระ ได้หลากหลายช่องทาง นอกจากการชำระแบบเดิม ที่ไปติดต่อตามสำนักงานประกันสังคม ต่อไปนี้ การชำระเงินสมทบประกันสังคม จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับนายจ้าง และ ผู้ประกันตนทั้งหลายอีกต่อไป เพราะเราเข้าใจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกท่านอย่างเต็มที่ จึงได้จัดช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคม เข้าร่วมกับหน่วยงานบริการต่าง ๆ ให้ท่านสามารถจ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ท่านสะดวกได้เลย