ประกันสังคมมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และ ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และ ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป สำหรับอัตราเงินสมทบของ ประกันสังคม มาตรา 33 ที่ผู้ประกันตนต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน จะคำนวณจากฐานค่าจ้างต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และ สูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ นายจ้าง ส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้างลูกจ้าง ขั้นต่ำ 83 บาทต่อเดือน และ สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน ลูกจ้าง หรือ ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้าง ขั้นต่ำ 83 บาทต่อเดือน และ สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน มาดูกันต่อว่ามีสิทธิประโยชน์ และ เงื่อนไขอย่างไร
ประกันสังคมมาตรา 33 สิทธิประโยชน์ และ เงื่อนไขอย่างไรบ้าง ?
ประกันสังคมมาตรา 33 คุ้มครองผู้ประกันตนดังนี้
- กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
- กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร และ ในกรณีที่ทั้งสามีภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร
- กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน)
- กรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
- กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือ เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต
- กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน
- กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ 7 กรณี ประกันสังคมมาตรา 33
ประกันสังคมมาตรา 33 หน้าที่ของนายจ้างที่ต้องขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้าง ตามกฎหมาย
ประกันสังคมมาตรา 33 รู้หรือไม่ นายจ้างจะต้องแจ้งขึ้นทะเบียน และ แจ้งความสิ้นสุดของการเป็นผู้ประกันตนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องแจ้ง ( สปส. 1-03 ) นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการลาออก และ สาเหตุการออกจากงาน โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ( สปส. 6-09 ) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่ลูกจ้างลาออก โดยมีช่องทางอำนวยความสะดวกดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th
- นายจ้างทำการลงทะเบียนขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต มีอีเมลตอบกลับให้พิมพ์แบบ สปส. 1-05 3.นำมายื่นที่สำนักประกันสังคมในพื้นที่ของท่าน สอบถามข้อมูล ประกันสังคมมาตรา 33 เพิ่มเติม www.sso.go.th หรือสายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกันสังคมมาตรา 33 มีช่องทางการชำระเงิน ช่องทางใดบ้าง ?
ประกันสังคมมาตรา 33 ช่องทางการชำระเงิน มีทางไหนบ้างการชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 33 บริษัทจะเป็นผู้หักจากเงินเดือนของลูกจ้างและนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม โดยสามารถชำระเงินสมทบได้ดังนี้
- ชำระเงินสมทบ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /จังหวัด / สาขา
- ชำระเงินสมทบเป็นธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือ เช็คทางไปรษณีย์
- ชำระเงินสมทบผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต
- ชำระเงินสมทบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ( e-payment ) 11 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ( มหาชน ) ,ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น , ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด , ธนาคารซิตี้แบงก์ จำกัด ( มหาชน ) ,ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด ( มหาชน ) , ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ , บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด
ทั้งหมดนี้คือช่องทางการชำระเงิน ประกันสังคมมาตรา 40 ทั้งที่สาขา และ แบบออนไลน์ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมพร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประตนทุกรายให้มากที่สุด
ประกันสังคมมาตรา 33 บทความข้างต้นนี้ก็เป็นสาระดี ๆ ที่นายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ควรทราบว่า มีคุ้มครองกรณีใดบ้าง ขั้นตอนการปฏิบัติข้อบังคับอย่างไร ช่องทางการชำระเงินมีทางใดบ้าง เพื่อให้อำนวยความสะดวก และ สร้างความเข้าใจให้กับนายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33 เบื้องต้น หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทรมาได้ที่เบอร์ 02-9562513-4 ในวัน และ เวลาราชการ หรือติดต่อสายด่วนสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เบอร์ประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ เบอร์โทรประกันสังคมตามพื้นที่ของผู้ประกันตนโดยตรง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และ เพื่อสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนควรได้รับ วันนี้ท่านก็ได้ทราบเบื้องต้นแล้วใช่ไหมคะว่า ประกันสังคมมาตรา 33 มีสิทธิประโยชน์ และ คุ้มครองอะไรบ้าง