กฎหมายเมาขับ 2567 เมาแล้วขับ จะถูกปรับกี่บาท ?
ตั้งแต่ภาครัฐนั้นได้มีการ “เปิดประเทศอย่างเป็นทางการ” และ ได้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิดมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการอนุญาตให้ร้านอาหาร ทำการเริ่มเปิดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตามปกติ จึงส่งผลให้หลายคนเริ่มออกไปปาร์ตี้สังสรรค์กันมากขึ้น จนในบางครั้งอาจลืมไปว่า เมาแล้วขับ ก็มีโทษปรับ และ ติดคุก และเกิด คดีเมาขับ แล้ว ขึ้นศาล 2567 ซึ่งเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ ก็เป็นอีกวันหยุดยาวที่หลายคนเตรียมตัวเพื่อสังสรรค์กัน ดังนั้นจึงจำเป็นควรรู้ข้อ กฎหมายเมาขับ 2567 เอาไว้ด้วยนะคะ
โทษปรับเงิน และ จำคุก ของ กฎหมายเมาขับ ล่าสุด 2567
กฎหมายเมาขับล่าสุด ได้กำหนดไว้ว่า เป่าแอลกอฮอล์ ไม่เกินเท่าไหร่ 2567 ( ห้ามเกิน 20 มิลลิกรัม )
หากเกินมีโทษ ปรับและจำคุก 2 ระดับ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
อัตราโทษเมา แล้ว ขับ 2567
-
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่ มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา” -
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และ จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน
มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดกี่มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ จะถือว่าขาดสติตามกฎหมาย
โดยบริบทปกติแล้ว หากมีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ทางกฎหมายจะถือว่าขาดสติ ในการขับขี่ ยกเว้นอยู่ 4 กรณี ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า เพียงแค่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ เท่านั้น ถือว่าขาดสติ ซึ่งก็คือ
ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ผู้ที่มีใบขับขี่ชั่วคราว
ผู้ที่มีใบขับขี่ประเภทอื่น ที่ไม่สามารถใช้แทนใบขับขี่ปกติได้
ผู้ที่ถูกกฎหมายสั่งให้พักใบอนุญาตขับขี่ หรือ ถูกยกเลิกใบขับขี่
กฎหมายเมาขับ 2567 บทลงโทษ "เมาแล้วขับ" ตามกฎหมาย
กฎหมาย เมา แล้ว ขับ หรือ การปฏิเสธเป่า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 บาท จะถูกระงับใบอนุญาตขับรถ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน และ ศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และ สามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน
เมาแล้วขับเสียค่าปรับเท่าไหร่ ?
ท่องเที่ยวทั่วไทย ควรรู้ข้อกฎหมายเรื่องเมาแล้วขับ ว่ามีอะไรบ้าง
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ”
ค่าปรับเมาขับ รถยนต์ 2567 ต้องจำคุกตั้งแต่ 1 – 5 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 – 100,000 บาท และ ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”
อัตราโทษเมา แล้ว ขับ 2567 ต้องจำคุก 2 – 6 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 – 120,000 บาท และ ถูกระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย”
โทษเมาขับ 2567 ต้องจำคุก 3 – 10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท และ เพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
แม้บางคนคิดอาจจะคิดว่า มีเงินจ่ายค่าปรับตามกฎหมายได้ ในกรณีที่เมาแล้วขับ แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ไม่คุ้มค่ากับการจ่ายเงินเลยสักนิดนะคะ เพราะ กฎหมายเมาขับ 2567 เป็นกฎหมายที่เพิ่งปรับ ทำให้ โทษเมาขับ 2567 ล่าสุด มีค่าปรับสูงขึ้นด้วย และที่สำคัญ ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้ผู้อื่นพิการ หรือ เสียชีวิตได้ ทางที่ดีที่สุดคือ ดื่มไม่ขับ ช่วยลดอุบัติเหตุ และ ความปลอดภัยบนท้องถนน ขับขี่อย่างมีสติ และ ทำประกันไว้เผื่อเหตุที่ไม่คาดฝัน คุณสามารถเข้าไปศึกษาการทำประกันกับเราได้ที่ Pakanpaide
ศาลสั่ง จำคุก 1 ปี นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ( อดีต ) อธิบดีอัยการ สำนักงานอาญาธนบุรี
เนื่องจากกระทำผิดในคดีเมาแล้วขับ ด้านจำเลยรับสารภาพ ศาลให้ลดโทษเหลือ 6 เดือน และรอลงอาญา 2 ปี พร้อมให้คุมความประพฤติ 1 ปี
ซึ่งคดีนี้ ต่างเป็นที่ถกเถียงกันของ ผู้คนมากมาย เนื่องจากมีการลดโทษ เสียงผู้คนส่วนใหญ่มองไปในทิศทางผู้บังคับใช้กฎหมาย กระทำผิดเสียเอง ควรรับโทษมากกว่า ประชาชนทั่วไปหรือไม่ เพื่อไม่เป็นแบบอย่าง
ย้อนรอย 10 ปี คดีทายาทกระทิงแดง
นายวรยุทธ ที่เป็นผู้ต้องหาในคดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 กันยายน 2570 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางของนายวรยุทธไปยังประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร
สถานะของนายวรยุทธในคดีนี้คือหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาทั้งหมดในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไม่ได้รับการฟ้องคดีใดๆ จากอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ในข้อหาสุดท้ายคือข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คณะกรรมการตรวจไม่มีความเห็นแย้งกับพนักงานอัยการ ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของคดีนี้
คดีนี้ได้รับการวิจารณ์เนื่องจากการไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และการเพิกถอนหนังสือเดินทางของนายวรยุทธ โดยมีคำวิจารณ์ว่าเป็นการปกปิดคดีและการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
เมาแล้วขับ ประกันรับเคลมไหม
ปกติการเมาแล้วขับจะถือเป็นโทษร้ายแรง และเป็นคำถามที่ถูกถามเข้ามาบ่อย เพราะรายละเอียดการคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละเจ้าก็แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะประกันรถยนต์ ชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 2+, ชั้น 3 หรืออื่น ๆ ก็มีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน
-
ค่ารักษาพยาบาล หากเกิดอุบัติเหตุ
ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากกรณีไหน ทางบริษัท จะต้องตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะกรณีใด -
ค่าเสียหาย
เมาแล้วขับ ไม่รับเคลม ทุกกรณี